การทำบุญด้วยการปฏิบัติธรรม เจริญภาวนา เป็นการสร้างบุญบารมีสูงสุดและยิ่งใหญ่
พอพูดถึงการทำบุญหลายคนก็จะนึกถึงทาน-การให้ การถวาย ซึ่งมีคำเรียกเป็นทางการว่า "ทานมัย" (บุญที่สำเร็จด้วยการให้ หรือการให้ก็เป็นบุญอย่างหนึ่ง) มาก่อนเรื่องใดๆ ยกตัวอย่าง เช่น การใส่บาตร ถวายสังฆทาน ถวายไตรจีวร ถวายเภสัชแก่พระ เป็นต้น ทำให้ถึงคราวอยากทำบุญขึ้นมาก็มักจะนึกถึงพระ นึกถึงการใส่บาตร การถวายสังฆทาน ทั้งที่ในความเป็นจริงมีวิธีทำบุญตามแนวทางพระพุทธศาสนาที่เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ มากถึง 10 วิธี
บุญกิริยาวัตถุ แปลว่า เหตุเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ หมายถึง เหตุเกิดบุญ ทางมาแห่งบุญ หรือวิธีการทำบุญ วิธีที่เมื่อทำแล้วได้ชื่อว่าทำบุญและจะได้รับผลเป็นความสุข มี 10 ประการ คือ
๑. ทานมัย บุญเกิดจากการให้ทาน
๒. สีลมัย บุญเกิดจากการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญเกิดจากการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญเกิดจากการอ่อนน้อม ถ่อมตนต่อผู้ใหญ่
๕. ไวยยาวัจมัย บุญเกิดจากการขวนขวาย ในกิจที่ชอบ
๖. ปัตติทานมัย บุญเกิดจากการอุทิศส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญเกิดจากการอนุโมทนาบุญ
๘. ธัมมัสสวนมัย บุญเกิดจากการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญเกิดจากการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐุชุกัมม์ บุญเกิดจากการทำความเห็นให้ตรง
คำว่า "มัย" ที่ต่อท้ายบุญกิริยาวัตถุทุกข้อนั้น มาจากคำบาลีว่า "มะยะ" แปลว่า "สำเร็จ" หรือ "เกิด" เช่น ทานมัย คือ บุญสำเร็จจากการให้ทาน หรือบุญเกิดจากการให้ทาน
ซึ่งมีตั้ง 9 วิธี ที่ไม่ต้องใช้เงิน หรือวัตถุสิ่งของใดๆ ในการทำเลย และการทำบุญด้วยการเจริญภาวนานอกจากเป็นการสร้างบุญบารมีสูงสุดและยิ่งใหญ่ แล้วยังได้อานิสงส์มากมายอีกหลายอย่าง
อานิสงส์ของการปฏิบัติธรรม
1. หน้าที่การงานจะเจริญรุ่งเรือง ได้ลาภ ยศ สรรเสริญตามปรารถนา
2. เจ้ากรรมนายเวรจะอโหสิกรรม หนี้กรรมในอดีตจะคลี่คลาย
3. สุขภาพแข็งแรง สติปัญญาแจ่มใส ปัญหาชีวิตคลี่คลาย
4. เป็นปัจจัยสู่พระนิพพานในภพต่อๆไป
5. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง โพยภัยอันตรายผ่อนหนักเป็นเบา
6. จิตใจสงบ ปล่อยวางได้ง่าย มองเห็นสัจธรรมแห่งชีวิต
7. เป็นที่รักที่เมตตามหานิยมของมวลมนุษย์มวลสัตว์และเหล่าเทวดา
8. ทำมาค้าขึ้น ไม่อับจน การเงินไม่ขาดสายไม่ขาดมือ
9. โรคภัยของตนเอง ของพ่อแม่ และของคนใกล้ชิดจะเบาบางและรักษาหาย
10. ตอบแทนพระคุณของพ่อแม่ได้เต็มที่สำหรับผู้ที่บวชไม่ได้เพราะติดภาระกิจต่างๆ ก็สามารถได้รับอานิสงส์เหล่านี้ได้ด้วยการสร้าง